โปรดอ่าน
   (1) เนื้อหาบางส่วนมีจะ Copy ที่จากเว็บอื่นๆบ้างบางส่วน หนังสือบางส่วน แต่ผมไม่ได้ต้องใจละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ เป็นเพียงการจดบันทึก และไม่ได้หวังผลตอบแทนใดๆ จากการทำเว็บ Blog
   (2) ถ้าพูดถึงชื่อหุ้น ผมไม่ได้แนะนำซื้อหรือขายทั้งสิ้น เป็นเพียงการจดบันทึกของผมเท่านั้น
   (3) เนื้อหาทั้งหมดทุกท่านมาสามารถติได้ เพื่อผมจะนำไปปรับปรุง และพัฒนาตัวเองต่อไป

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ไอเดียของคุณฮง มองช่วงวิกฤติ (โควิด ปี 2020)

ปกติแล้วเนี่ยถ้าเราลงทุน ตลาดหุ้นเป็นเหมือน Financial sector แต่เศรษฐกิจจริงเหมือน Real sector ความแตกต่างสองอย่างนี้คือว่า สมมติว่าเรามองว่าเศรษฐกิจจะไม่ดี กว่าตัวเลขเศรษฐกิจจะออกมาไม่ดีจริงมันจะต้องรอค่อนข้างจะนานกว่า การจ้างงานจะลด กว่ากำลังซื้อจะลด จะสะท้อนความมั่นใจของคนที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจน้อยลง การจับจ่ายใช้สอยน้อยลง


ถ้า Financial sector ถ้าคนมองไม่ดี คนจะกดปุ่มขายหุ้นทันที หุ้นจะลงเลย ต้องบอกว่า Financial sector จะเป็นตัว Lead เศรษฐกิจ ไม่ใช้เศรษฐกิจเป็นตัวนำ ดังนั้นสิ่งที่นักลงทุนมองหาว่า GPD จะติดลบเท่าไร มันเป็นในอดีตว่ามันไม่ค่อยมีความหมายอะไร ในที่การคำตอบสิ่งนั้น ผมไปอ่านวิจัยของ US มาเขาเก็บตัวเลขทุกครั้งที่เศรษฐกิจ US ทดทอย โดยเก็บตัวเลข 1929-2000 ถ้าเศรษฐกิจทดทอยแล้วเรารอจนกว่าตัวเลข GPD จะกลับมาจากจุดต่ำสุดได้เนี่ยดัชนีดาวโจนจะขึ้นมาแล้วกี่เปอร์เซ็นต์ ปรากฎว่าค่าเฉลี่ยดัชนีดาวโจนจะขึ้นมาแล้ว 25% อันนี้คือค่าเฉลี่ย บางครั้งจะเด้งมากกว่านี้ บางครั้งจะเด้งน้อยกว่า มันเป็นตัวพิสูจน์ให้เรารู้ได้ว่า จริงๆแล้วการที่เราไปนั่งเก็งกันว่า GPD ไตรมาสปัจจุบันจะเป็นยังไงจากพฤติกรรมการเงิน คือ มันไม่มีประโยชน์ที่จะทำ

พอกลับมาดูที่ไทยบ้างอย่างวิกฤติรอบวิกฤติซับไพรม์ GPD ของเราเริ่มติดลบไตรมาสที่ 4 ปี 2008 แต่ว่าดัชนีหุ้นของเราก็ต่ำสุดในไตรมาสนั้น แต่ประเด็นก็คือ GDP ไตรมาส 1 ของปี 2009 ติดลบปีต่อปี ติดลบ 7% แต่หุ้นในปี 2009 ไตรมาส 1 เป็นขาขึ้น แล้วปี 2009 GDP เราติดลบประมาณ 2% ว่า แต่ดัชนีหุ้นขึ้นมา 60% จาก 400 กว่าจุดเป็น 700 กว่าจุด GPD ของปี 2009 เพิ่งจะเป็นบวกได้ในไตรมาสที่ 4 ดังนั้นมันไม่มีประโยชน์ที่จะเราจะมานั่งคาดการณ์สิ่งเหล่านี้

ดังนั้นเวลาอ่านข่าวสารผมไม่ได้สนใจเลยว่า GPD ไตรมาสนี้ ไตรมาสหน้าจะติดลบเท่าไร ไม่ได้สนใจคนว่างงานเลย การติดตามสิ่งเหล่านี้ทำให้เรามีค่าเสียโอกาส อันนี้เป็นคำตอบว่าผมให้น้ำหนักเกี่ยวกับอะไร

เวลาดูข้อมูลผม จริงๆผมให้น้ำหนักความถูกความแพงของตลาด เช่น ตัวเลข PE ของตลาด ตัวเลขเงินปันผล มูลค่าทางบัญชีของตลาด คือ เราต้องบอกว่า PE ตลาดอาจจะแพง เพราะฐานต่ำผิดปกติจากสถานการณ์โควิด หลังจากผ่านเหตุการณ์นี้บริษัทจะมี PE เท่าไร ให้มองตรงนั้นเหมาะสมกว่า ส่วนหนึ่งถ้าดูช่วงสั่นๆ ที่ดัชนีฟื้นตัวมา 1200 จุด ถ้าดูจากตัวเลข P/BV มันไม่ได้ถูกมากในระยะสั่น แต่เงินปันผล 4% เป็นตัวเลขที่เห็นมานานแล้ว

ตอนนี้นักลงทุนเหมือนโดนชกมาเต็มๆ แล้วจะเลิกแล้ว ผมจะบอกว่าผมจะเอาคืนแล้ว ผมไม่รู้หุ้นจะถึงจุดต่ำสุดตรงไหน เราคิดว่าเราจะสร้างเนื้อสร้างตัว เราอยู่ฝั่งนี้มีความน่าจะเป็นหรือมีความได้เปรียบ

ทุกครั้งที่เศรษฐกินติดลบเยอะๆ มันก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของการที่เขากลายเป็นตำนานเช่น วอแรน บับเฟต ในปี 1969-1973 ในช่วงเวลานั้น US เกิดวิกฤติ เรียกว่า …………คือดัชนี S&P500ลงมา 500 กว่าจุดจาก 1000 กว่าจุด ทีนี้ตอนถึงจุดต่ำสุดประมาณปี 1973 วอแรนซื้อหุ้นวอชิงตันโพส คือ เป็นการลงทุนเขากำไรดีมาก ลงไป 10 ล้าน US สามสิบปีต่อมาเงินตรงนี้เป็น 1500 ล้าน US เหมือนกับว่าเวลาที่เราโดนมาเต็มทีแล้ว ถ้าเกิดเราหาการลงทุนที่น่าสนใจได้ อันนั้นเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เราเกษียณได้ เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้คนๆ นั้นกลายเป็นตำนานได้ หรืออย่างในไทย อย่างพี่โจ ลูกอีสาน ดร.นิเวศน์ อย่างประวัติของท่านไทยลอยตัวค่าเงิน และได้กำไรในหุ้นส่งออก หรือหุ้นยานยนต์ ได้สร้างเนื้อสร้างตัวได้เยอะมาก

ถ้าเราไม่อยู่ในภาวะวิกฤติ เราจะบอกว่าเราอยากมีโอกาสแบบเขาเนอะ แต่พอเราในภาวะวิกฤติจริงเราก็บอกว่าเราไม่อยากลงทุนแล้ว เราอยากถือเงินสดผมมันว่ามันเป็นเรื่องตลกนะ พอเวลาไม่มีวิกฤติคุณก็บอกว่า ถ้ามันวิกฤติคุณจะขอเป็นคนโกบโกยจากตลาดหุ้นได้เยอะมากๆ เหมือน วอแรน เหมือนพี่โจ เหมือน ดร.นิเวศน์ พอมันวิกฤติจริงๆ คุณบอกไม่มีกำลังใจในการลงทุนแหละ คือ ผมก็เลยมีความรู้สึกว่าเราถอดใจผิดจังหวะหรือป่าว

ในควาคิดเห็นคนที่มั่นใจต้องมาจากเขามีความรู้เยอะ วอแรน เขามีความรู้สื่อสิ่งพิมพ์เยอะมาก อย่าง ดร.นิเวศน์ คิดว่าตามประวัติท่านก็ศึกษาเรื่องบัญชี เพราะเคยทำงานธนาคารมาก่อน ก็เลยคิดว่ามันเป็นความแตกต่าง เขารู้ว่างบดุลแบบนี้ กระแสเงินสดแบบนี้ กำไรแบบนี้ จ่ายปันผลแบบนี้ บริษัทไม่เจ๊ง เราก็จะรู้สึกว่ามันเป็นโอกาส ถ้าเราไม่มีความรู้ตรงนี้ คือเราก็จะเป็นลูกบอลที่ถูกคนอื่นเหวี่ยงไป เหวี่ยงมาให้หัวหมุน เดียวข่าวก็บอกว่าต่างประเทศมีคนตายเท่าไร


เวลาเรามีความรู้เสร็จ เราก็ต้องศึกษาประวัติศาสตร์ให้มากพอ จริงๆอย่างผม อ่านงานวิจัยของพฤติกรรมของตลาดหุ้นค่อนข้างเยอะ และทำงานวิจัยเกี่ยวหุ้นกลุ่มต่างๆ ก็เลยทำให้เวลาเกิดภาวะอะไรขึ้นมา ผมก็มีความมั่นใจในการลงทุน ไม่ได้หมายความว่าผมจะลงทุนแล้วถูกทุกครั้งนะครับ โดยรวมๆ คิดว่าครั้งที่กำไรจะได้เยอะ ครั้งที่ขาดทุนจะโดนไม่เยอะ ก็คิดว่าเราต้องมีความรู้ในกลุ่มหุ้นที่เราจะลงทุน ว่ามันมีลักษณะโครงสร้างรายได้ การฟื้นตัวหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจเป็นยังไงบ้าง

ข้อแนะนำ ของผม เราควรมองอะไรให้มันยาว อย่ามองสั้นๆ เราต้องมี Mind set ที่ถูกต้อง ว่าเราลงทุนวันนี้ เพื่อที่จะเกษียณอีก 10 ปีข้างหน้า

อย่างผมเพิ่งแนะนำเพื่อนของผม มีเงินลงทุนประมาณ 7 หลัก ถ้าขยันมากๆ อีก 10 ปีข้างหน้าเกษียณได้แน่นอน ถ้าเริ่มที่ตรงนี้นะ แต่อีก 3-6 เดือน ผมไม่รู้ แต่เราไม่จำเป็นต้องรู้ แต่เรารวยได้ ผมก็บอกเพื่อนไปแบบนี้

หุ้นประเภทไหนจะรอดหลังโควิด คือ จริงๆ ช่วงที่ผ่านมาผมกลับมาทำการบ้านหุ้นเยอะ จริงๆ แล้วอยากจะเกษียณตัวเองแล้วนะ แต่เวลาหุ้นมันพังลงมา ผมก็คิดว่าเรารับหมัดมาเยอะแล้ว เราต้องเอาคืน ก็เลยฟิตขึ้นมา ค้นหาข้อมูลจากหลายๆ อุตสาหกรรม คือสิ่งที่ผมนั่งอ่านและได้ข้อสรุป ผมรู้สึกว่า เราไม่ควรจะคิดว่าอุตสาหกรรมไหนจะรอด ไม่รอด คือใน Sector หนึ่ง จะมีคนหนึ่งที่ทำธุรกิจ กู้เยอะๆ มีกระแสเงิสดน้อย ทำธุรกิจเหมือนกับตั้งสมมติฐานบนแง่ดี เราจะขายให้ลูกค้าเท่านั้น เท่านี้ อย่างงี้ครับ พอเจอภาวะแบบนี้ (ภาวะวิกฤติ) ธุรกิจที่ถูกผู้บริหาร บริหารลักษณะนี้ ผมดูแล้วผมแล้วบางบริษัทจะไม่มีเงินจ่ายดอกเบี้ยด้วยซ้ำ แต่ว่าในกลุ่มเดียวกันมีคนบอกจะจ่ายปันผลเพิ่มไปอีก เวลาเรามองว่าตัวไหนจะรอด

ผมคิดว่า Sector ไหนกระทบและฟื้นตัวช้า แต่แน่นอนว่ากลุ่มที่ใกล้เคียงจะล้มละลาย เราดู หนี้สินต่อทุน ดูว่าปีก่อนๆ มีดอกเบี้ยจ่ายเท่าไร

ปีนี้ถ้ารายได้หายไปเยอะ กำไรก่อนจ่ายดอกเบี้ย และภาษีที่เรียกว่า EBIT มันน่าจะเพียงพอต่อการจ่ายหนี้ไหม แล้วเราดู D/E สูงหรือยัง บางบริษัท D/E สูง และดอกเบี้ยเยอะด้วย ถ้าจะรอดต้องเพิ่มทุน เราเป็นผู้ถือหุ้น เราก็จะถูกแชร์ส่วนแบ่งไปมากขึ้น ถามว่ากลุ่มไหน ที่จริงผมมองเป็น Vision ผู้บริหารมากกว่า
เราต้องเจาะไปรายตัว เขาอาจจะเก่ง และบริหาร เหมือนคนทำธุรกิจคนเคยผ่านเศรษฐกิจแล้ว จะลงทุนน้อยลง บริษัทยังขยายงานเยอะอยู่ เราจะเห็นคนผ่านวิกฤติ

วิกฤติตอนนี้ หุ้นเต็มพอร์ต เวลาขาขึ้นได้มากกว่าตลาด เวลาวิกฤติก็หนักพอสมควร แต่ผมเจอหุ้นแล้วเทียบกับศักยภาพบริษัทแล้วน่าลงทุนดี

ช่วงนี้กลับมาอ่านหุ้นเยอะหน่อย เพราะเพื่อนเพิ่งเปิดพอร์ต จึงขยันขึ้นจะได้พูดคุยหรือคำแนะนำ ทุกวันนี้จึงกลับมาฟิตจะเยอะ บางวันอ่าน 4-5 ชั่วโมง ตอนพอร์ตเล็กอ่าน 8-9 ชั่วโมงต่อวัน เหมือนผมรู้ว่าผมอยากจะหาบริษัทแนวไหน จุดที่จะมองข้ามบริษัทเหล่านี้เลย มันอยู่ตรงไหน พอผมเจอตรงนั้นผมก็ไม่อ่านต่อแล้วไง

ทำให้เดียวนี้เราเลือกประมาณไหน เรารู้สเปคเลยใช้เวลาน้อยกว่าสมัยก่อน เวลาผมอ่าน ผมจะเทียบข้อมูลส่วนตัวเก็บว่า หลังซับไพรม์ หุ้นกลุ่มนี้ฟื้นตัวยังไง ทำไมตัวนี้ฟื้นตัวไว กลุ่มนั้น ทำไมขึ้นเร็วกว่าอีกตัว เพราะมีโครงสร้างรายได้ยังไง

หลักการคือ
คุณดูแล้วว่าเก่งกว่าคู่แข่งชัดเจน ตัวเลขหนึ่งที่ผมชอบดูคือผลตอยแทนต่อผู้ถือหุ้น (ROE) ถ้า ROE ของบริษัทนั้นสูงกว่าคู่แข่ง ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน และค่อนข้างต่อเนื่อง ผมคิดว่ามันเป็นตัวเลขที่บอกอะไรบางอย่างกับเรานะ ว่าทำไมบริษัทนี้ถึงมีอัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นสูงกว่า ซึ่งวิกฤติรอบซับไพรม์ ผมสังเกตว่าตัวที่ฟื้นตัวมากกว่าตัวอื่นจะเป็นตัวที่มี ROE สูงกว่าในกลุ่ม การที่ผมเคยศึกมา ผมรู้ว่าแล้วว่าตัวไหนมีคุณภาพค่อนข้างจะดี

คือ คำถามที่ยากคือว่า บริษัทที่ดีนั้น ราคามันฟื้นตัวไปเยอะหรือยัง ไอ้แบบนี้บางทีก็ตอบยาก บางทีอยู่ที่ว่าเรามองสั้น มองยาวด้วย อย่างผมรู้สึกว่า บางกลุ่มที่เด้งมารอบนี้ เด้งขึ้นมาเยอะเกินไป เมื่อเทียบกับกำไรที่ผมประมาณการณ์ที่จะทำได้ในปีนี้

คือมองไปถึงปี 64-65 เลย (ปัจจุบัน 63) เลยหรือเปล่า แต่บางตัวกำไรอาจจะลดลงบ้าง เป็นบริษัทที่มีศักยภาพ แต่ว่า ราคาหุ้นมันลงมาพอสมควรแต่มันไม่ค่อยเด้ง
เราต้องทำ 2 โจทย์
1) บริษัทที่คุณภาพ
2) แล้วมันราคาไหน

เราต้องตอบข้อแรกให้ได้ก่อน เราจะพอรู้ว่าบริษัทจะสร้างกำไร กับกระแสเงินสดได้ไร แล้วเราก็พอประมาณราคาที่เหมาสมได้

ถ้าคุณจะลงทุนตอนนี้ ให้มองว่าอีก 10 ปี คุณจะเกษียณได้ อย่าเพิ่งไปสนใจเดือนหน้า สามเดือนหน้า มีแต่คนบ้าเท่านั้นที่ปลูกต้นไม้ แล้วหวังว่าจะออกดอก ให้ร่มเงากับเราได้ในวันพรุ่งนี้ เราคิดว่าเราต้องจำกัดความโลภของเรามาก

จริงเดือนที่แล้วที่หุ้น Circuit brake รู้สึกมีความกลัวมาบ้าง แต่ไม่ได้จิตหลุด ไม่ได้ทำอะไรผิดพลาด ไม่ได้ทนไม่ไหว แล้วล้างพอร์ต




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หากมีข้อเสนอแนะหรือติ ผ่าน e-mail สามารถกรอกด้านล่างครับ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *