โปรดอ่าน
   (1) เนื้อหาบางส่วนมีจะ Copy ที่จากเว็บอื่นๆบ้างบางส่วน หนังสือบางส่วน แต่ผมไม่ได้ต้องใจละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ เป็นเพียงการจดบันทึก และไม่ได้หวังผลตอบแทนใดๆ จากการทำเว็บ Blog
   (2) ถ้าพูดถึงชื่อหุ้น ผมไม่ได้แนะนำซื้อหรือขายทั้งสิ้น เป็นเพียงการจดบันทึกของผมเท่านั้น
   (3) เนื้อหาทั้งหมดทุกท่านมาสามารถติได้ เพื่อผมจะนำไปปรับปรุง และพัฒนาตัวเองต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2567

คุณภาพกำไรของบริษัทที่ไม่ลิดรอนสิ่งแวดล้อม

ไอเดียผมซึ่งมองระยะยาวหน่อยครับ สรุปจากการฟังบรรยาย เป็นภาษาของตัวเอง

นอกจากการดูคุณภาพกำไรที่มีคุณภาพในด้านการดำเนินธุรกิจ หรือการไม่ตกแต่งกำไรแล้ว ยังมีคุณภาพกำไรของบริษัทที่ไม่ลิดรอนสิ่งแวดล้อม ที่ต้องนำมาพิจารณาในอนาคตด้วย

เพราะอะไรเหรอ? เนื่องผู้มีส่วนได้เสีย จะเน้นเรื่อง สิ่งแวดล้อมมากขึ้น อันเนื่องจากภาวะโลกร้อน

1. ผู้บริโภคจะยอมจ่ายเกี่ยวกับสินค้ารักษ์โลกมากขึ้น ยิ่งในยุโรปจะมีการกีดกันทางการค้ามากขึ้น

2. พนักงานที่จะเข้ามาทำงาน จะต้องมีนิสัยรักษ์โลก เพราะภาวะโลกร้อน ถ้าบริษัทไม่ทำ ESG พนักงานที่มีคุณภาพ เก่ง ดี .....อาจจะไม่มาทำงานกับบริษัทที่ไม่ทำ ESG

3. Partner การที่เราจะร่วมทุน หรือร่วมลงทุนกับใคร Partner อาจจะพิจารณาถึงบริษัทที่ทำ ESG มากขึ้น

4. ธนาคารผู้ให้กู้เงิน ก็จะพิจารณาเกี่ยวบริษัทที่ทำ ESG จะยอมปล่อยกู้ให้กับบริษัทที่ทำ ESG อาจจะปล่องกู้มาก หรือน้อย การเข้าถึงต้นทุนทางการเงินที่ต่ำลง

5. ผู้กำกับหน่ายงานต่างๆ เช่น กลต. จะยอมรับในบริษัทที่ทำ ESG






ที่มา : จากการฟังบรรยายหัวข้อ “กฎกติกา ข้อบังคับ ด้านสิ่งแวดล้อม และ ทิศทางของอุตสาหกรรมในอนาคตโดย ดร.สวนิตย์ บุญญาสุวัฒน์ ศรีเลิศฟ้า ม.เชียงใหม่

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2567

AU - Business model canvas by Weevalue

ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าเป็นความเห็นส่วนตัว ที่เกิดจากการศึกษาด้วยตัวเอง 

ไม่ได้แนะนำซื้อหรือขายทั้งสิ้น ผู้ลงทุนควรศึกษาด้วยตัวเอง






ไอเดียของคุณฮง มองช่วงวิกฤติ (โควิด ปี 2020)

ปกติแล้วเนี่ยถ้าเราลงทุน ตลาดหุ้นเป็นเหมือน Financial sector แต่เศรษฐกิจจริงเหมือน Real sector ความแตกต่างสองอย่างนี้คือว่า สมมติว่าเรามองว่าเศรษฐกิจจะไม่ดี กว่าตัวเลขเศรษฐกิจจะออกมาไม่ดีจริงมันจะต้องรอค่อนข้างจะนานกว่า การจ้างงานจะลด กว่ากำลังซื้อจะลด จะสะท้อนความมั่นใจของคนที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจน้อยลง การจับจ่ายใช้สอยน้อยลง


ถ้า Financial sector ถ้าคนมองไม่ดี คนจะกดปุ่มขายหุ้นทันที หุ้นจะลงเลย ต้องบอกว่า Financial sector จะเป็นตัว Lead เศรษฐกิจ ไม่ใช้เศรษฐกิจเป็นตัวนำ ดังนั้นสิ่งที่นักลงทุนมองหาว่า GPD จะติดลบเท่าไร มันเป็นในอดีตว่ามันไม่ค่อยมีความหมายอะไร ในที่การคำตอบสิ่งนั้น ผมไปอ่านวิจัยของ US มาเขาเก็บตัวเลขทุกครั้งที่เศรษฐกิจ US ทดทอย โดยเก็บตัวเลข 1929-2000 ถ้าเศรษฐกิจทดทอยแล้วเรารอจนกว่าตัวเลข GPD จะกลับมาจากจุดต่ำสุดได้เนี่ยดัชนีดาวโจนจะขึ้นมาแล้วกี่เปอร์เซ็นต์ ปรากฎว่าค่าเฉลี่ยดัชนีดาวโจนจะขึ้นมาแล้ว 25% อันนี้คือค่าเฉลี่ย บางครั้งจะเด้งมากกว่านี้ บางครั้งจะเด้งน้อยกว่า มันเป็นตัวพิสูจน์ให้เรารู้ได้ว่า จริงๆแล้วการที่เราไปนั่งเก็งกันว่า GPD ไตรมาสปัจจุบันจะเป็นยังไงจากพฤติกรรมการเงิน คือ มันไม่มีประโยชน์ที่จะทำ

พอกลับมาดูที่ไทยบ้างอย่างวิกฤติรอบวิกฤติซับไพรม์ GPD ของเราเริ่มติดลบไตรมาสที่ 4 ปี 2008 แต่ว่าดัชนีหุ้นของเราก็ต่ำสุดในไตรมาสนั้น แต่ประเด็นก็คือ GDP ไตรมาส 1 ของปี 2009 ติดลบปีต่อปี ติดลบ 7% แต่หุ้นในปี 2009 ไตรมาส 1 เป็นขาขึ้น แล้วปี 2009 GDP เราติดลบประมาณ 2% ว่า แต่ดัชนีหุ้นขึ้นมา 60% จาก 400 กว่าจุดเป็น 700 กว่าจุด GPD ของปี 2009 เพิ่งจะเป็นบวกได้ในไตรมาสที่ 4 ดังนั้นมันไม่มีประโยชน์ที่จะเราจะมานั่งคาดการณ์สิ่งเหล่านี้

ดังนั้นเวลาอ่านข่าวสารผมไม่ได้สนใจเลยว่า GPD ไตรมาสนี้ ไตรมาสหน้าจะติดลบเท่าไร ไม่ได้สนใจคนว่างงานเลย การติดตามสิ่งเหล่านี้ทำให้เรามีค่าเสียโอกาส อันนี้เป็นคำตอบว่าผมให้น้ำหนักเกี่ยวกับอะไร

เวลาดูข้อมูลผม จริงๆผมให้น้ำหนักความถูกความแพงของตลาด เช่น ตัวเลข PE ของตลาด ตัวเลขเงินปันผล มูลค่าทางบัญชีของตลาด คือ เราต้องบอกว่า PE ตลาดอาจจะแพง เพราะฐานต่ำผิดปกติจากสถานการณ์โควิด หลังจากผ่านเหตุการณ์นี้บริษัทจะมี PE เท่าไร ให้มองตรงนั้นเหมาะสมกว่า ส่วนหนึ่งถ้าดูช่วงสั่นๆ ที่ดัชนีฟื้นตัวมา 1200 จุด ถ้าดูจากตัวเลข P/BV มันไม่ได้ถูกมากในระยะสั่น แต่เงินปันผล 4% เป็นตัวเลขที่เห็นมานานแล้ว

ตอนนี้นักลงทุนเหมือนโดนชกมาเต็มๆ แล้วจะเลิกแล้ว ผมจะบอกว่าผมจะเอาคืนแล้ว ผมไม่รู้หุ้นจะถึงจุดต่ำสุดตรงไหน เราคิดว่าเราจะสร้างเนื้อสร้างตัว เราอยู่ฝั่งนี้มีความน่าจะเป็นหรือมีความได้เปรียบ

ทุกครั้งที่เศรษฐกินติดลบเยอะๆ มันก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของการที่เขากลายเป็นตำนานเช่น วอแรน บับเฟต ในปี 1969-1973 ในช่วงเวลานั้น US เกิดวิกฤติ เรียกว่า …………คือดัชนี S&P500ลงมา 500 กว่าจุดจาก 1000 กว่าจุด ทีนี้ตอนถึงจุดต่ำสุดประมาณปี 1973 วอแรนซื้อหุ้นวอชิงตันโพส คือ เป็นการลงทุนเขากำไรดีมาก ลงไป 10 ล้าน US สามสิบปีต่อมาเงินตรงนี้เป็น 1500 ล้าน US เหมือนกับว่าเวลาที่เราโดนมาเต็มทีแล้ว ถ้าเกิดเราหาการลงทุนที่น่าสนใจได้ อันนั้นเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เราเกษียณได้ เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้คนๆ นั้นกลายเป็นตำนานได้ หรืออย่างในไทย อย่างพี่โจ ลูกอีสาน ดร.นิเวศน์ อย่างประวัติของท่านไทยลอยตัวค่าเงิน และได้กำไรในหุ้นส่งออก หรือหุ้นยานยนต์ ได้สร้างเนื้อสร้างตัวได้เยอะมาก

ถ้าเราไม่อยู่ในภาวะวิกฤติ เราจะบอกว่าเราอยากมีโอกาสแบบเขาเนอะ แต่พอเราในภาวะวิกฤติจริงเราก็บอกว่าเราไม่อยากลงทุนแล้ว เราอยากถือเงินสดผมมันว่ามันเป็นเรื่องตลกนะ พอเวลาไม่มีวิกฤติคุณก็บอกว่า ถ้ามันวิกฤติคุณจะขอเป็นคนโกบโกยจากตลาดหุ้นได้เยอะมากๆ เหมือน วอแรน เหมือนพี่โจ เหมือน ดร.นิเวศน์ พอมันวิกฤติจริงๆ คุณบอกไม่มีกำลังใจในการลงทุนแหละ คือ ผมก็เลยมีความรู้สึกว่าเราถอดใจผิดจังหวะหรือป่าว

ในควาคิดเห็นคนที่มั่นใจต้องมาจากเขามีความรู้เยอะ วอแรน เขามีความรู้สื่อสิ่งพิมพ์เยอะมาก อย่าง ดร.นิเวศน์ คิดว่าตามประวัติท่านก็ศึกษาเรื่องบัญชี เพราะเคยทำงานธนาคารมาก่อน ก็เลยคิดว่ามันเป็นความแตกต่าง เขารู้ว่างบดุลแบบนี้ กระแสเงินสดแบบนี้ กำไรแบบนี้ จ่ายปันผลแบบนี้ บริษัทไม่เจ๊ง เราก็จะรู้สึกว่ามันเป็นโอกาส ถ้าเราไม่มีความรู้ตรงนี้ คือเราก็จะเป็นลูกบอลที่ถูกคนอื่นเหวี่ยงไป เหวี่ยงมาให้หัวหมุน เดียวข่าวก็บอกว่าต่างประเทศมีคนตายเท่าไร


เวลาเรามีความรู้เสร็จ เราก็ต้องศึกษาประวัติศาสตร์ให้มากพอ จริงๆอย่างผม อ่านงานวิจัยของพฤติกรรมของตลาดหุ้นค่อนข้างเยอะ และทำงานวิจัยเกี่ยวหุ้นกลุ่มต่างๆ ก็เลยทำให้เวลาเกิดภาวะอะไรขึ้นมา ผมก็มีความมั่นใจในการลงทุน ไม่ได้หมายความว่าผมจะลงทุนแล้วถูกทุกครั้งนะครับ โดยรวมๆ คิดว่าครั้งที่กำไรจะได้เยอะ ครั้งที่ขาดทุนจะโดนไม่เยอะ ก็คิดว่าเราต้องมีความรู้ในกลุ่มหุ้นที่เราจะลงทุน ว่ามันมีลักษณะโครงสร้างรายได้ การฟื้นตัวหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจเป็นยังไงบ้าง

ข้อแนะนำ ของผม เราควรมองอะไรให้มันยาว อย่ามองสั้นๆ เราต้องมี Mind set ที่ถูกต้อง ว่าเราลงทุนวันนี้ เพื่อที่จะเกษียณอีก 10 ปีข้างหน้า

อย่างผมเพิ่งแนะนำเพื่อนของผม มีเงินลงทุนประมาณ 7 หลัก ถ้าขยันมากๆ อีก 10 ปีข้างหน้าเกษียณได้แน่นอน ถ้าเริ่มที่ตรงนี้นะ แต่อีก 3-6 เดือน ผมไม่รู้ แต่เราไม่จำเป็นต้องรู้ แต่เรารวยได้ ผมก็บอกเพื่อนไปแบบนี้

หุ้นประเภทไหนจะรอดหลังโควิด คือ จริงๆ ช่วงที่ผ่านมาผมกลับมาทำการบ้านหุ้นเยอะ จริงๆ แล้วอยากจะเกษียณตัวเองแล้วนะ แต่เวลาหุ้นมันพังลงมา ผมก็คิดว่าเรารับหมัดมาเยอะแล้ว เราต้องเอาคืน ก็เลยฟิตขึ้นมา ค้นหาข้อมูลจากหลายๆ อุตสาหกรรม คือสิ่งที่ผมนั่งอ่านและได้ข้อสรุป ผมรู้สึกว่า เราไม่ควรจะคิดว่าอุตสาหกรรมไหนจะรอด ไม่รอด คือใน Sector หนึ่ง จะมีคนหนึ่งที่ทำธุรกิจ กู้เยอะๆ มีกระแสเงิสดน้อย ทำธุรกิจเหมือนกับตั้งสมมติฐานบนแง่ดี เราจะขายให้ลูกค้าเท่านั้น เท่านี้ อย่างงี้ครับ พอเจอภาวะแบบนี้ (ภาวะวิกฤติ) ธุรกิจที่ถูกผู้บริหาร บริหารลักษณะนี้ ผมดูแล้วผมแล้วบางบริษัทจะไม่มีเงินจ่ายดอกเบี้ยด้วยซ้ำ แต่ว่าในกลุ่มเดียวกันมีคนบอกจะจ่ายปันผลเพิ่มไปอีก เวลาเรามองว่าตัวไหนจะรอด

ผมคิดว่า Sector ไหนกระทบและฟื้นตัวช้า แต่แน่นอนว่ากลุ่มที่ใกล้เคียงจะล้มละลาย เราดู หนี้สินต่อทุน ดูว่าปีก่อนๆ มีดอกเบี้ยจ่ายเท่าไร

ปีนี้ถ้ารายได้หายไปเยอะ กำไรก่อนจ่ายดอกเบี้ย และภาษีที่เรียกว่า EBIT มันน่าจะเพียงพอต่อการจ่ายหนี้ไหม แล้วเราดู D/E สูงหรือยัง บางบริษัท D/E สูง และดอกเบี้ยเยอะด้วย ถ้าจะรอดต้องเพิ่มทุน เราเป็นผู้ถือหุ้น เราก็จะถูกแชร์ส่วนแบ่งไปมากขึ้น ถามว่ากลุ่มไหน ที่จริงผมมองเป็น Vision ผู้บริหารมากกว่า
เราต้องเจาะไปรายตัว เขาอาจจะเก่ง และบริหาร เหมือนคนทำธุรกิจคนเคยผ่านเศรษฐกิจแล้ว จะลงทุนน้อยลง บริษัทยังขยายงานเยอะอยู่ เราจะเห็นคนผ่านวิกฤติ

วิกฤติตอนนี้ หุ้นเต็มพอร์ต เวลาขาขึ้นได้มากกว่าตลาด เวลาวิกฤติก็หนักพอสมควร แต่ผมเจอหุ้นแล้วเทียบกับศักยภาพบริษัทแล้วน่าลงทุนดี

ช่วงนี้กลับมาอ่านหุ้นเยอะหน่อย เพราะเพื่อนเพิ่งเปิดพอร์ต จึงขยันขึ้นจะได้พูดคุยหรือคำแนะนำ ทุกวันนี้จึงกลับมาฟิตจะเยอะ บางวันอ่าน 4-5 ชั่วโมง ตอนพอร์ตเล็กอ่าน 8-9 ชั่วโมงต่อวัน เหมือนผมรู้ว่าผมอยากจะหาบริษัทแนวไหน จุดที่จะมองข้ามบริษัทเหล่านี้เลย มันอยู่ตรงไหน พอผมเจอตรงนั้นผมก็ไม่อ่านต่อแล้วไง

ทำให้เดียวนี้เราเลือกประมาณไหน เรารู้สเปคเลยใช้เวลาน้อยกว่าสมัยก่อน เวลาผมอ่าน ผมจะเทียบข้อมูลส่วนตัวเก็บว่า หลังซับไพรม์ หุ้นกลุ่มนี้ฟื้นตัวยังไง ทำไมตัวนี้ฟื้นตัวไว กลุ่มนั้น ทำไมขึ้นเร็วกว่าอีกตัว เพราะมีโครงสร้างรายได้ยังไง

หลักการคือ
คุณดูแล้วว่าเก่งกว่าคู่แข่งชัดเจน ตัวเลขหนึ่งที่ผมชอบดูคือผลตอยแทนต่อผู้ถือหุ้น (ROE) ถ้า ROE ของบริษัทนั้นสูงกว่าคู่แข่ง ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน และค่อนข้างต่อเนื่อง ผมคิดว่ามันเป็นตัวเลขที่บอกอะไรบางอย่างกับเรานะ ว่าทำไมบริษัทนี้ถึงมีอัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นสูงกว่า ซึ่งวิกฤติรอบซับไพรม์ ผมสังเกตว่าตัวที่ฟื้นตัวมากกว่าตัวอื่นจะเป็นตัวที่มี ROE สูงกว่าในกลุ่ม การที่ผมเคยศึกมา ผมรู้ว่าแล้วว่าตัวไหนมีคุณภาพค่อนข้างจะดี

คือ คำถามที่ยากคือว่า บริษัทที่ดีนั้น ราคามันฟื้นตัวไปเยอะหรือยัง ไอ้แบบนี้บางทีก็ตอบยาก บางทีอยู่ที่ว่าเรามองสั้น มองยาวด้วย อย่างผมรู้สึกว่า บางกลุ่มที่เด้งมารอบนี้ เด้งขึ้นมาเยอะเกินไป เมื่อเทียบกับกำไรที่ผมประมาณการณ์ที่จะทำได้ในปีนี้

คือมองไปถึงปี 64-65 เลย (ปัจจุบัน 63) เลยหรือเปล่า แต่บางตัวกำไรอาจจะลดลงบ้าง เป็นบริษัทที่มีศักยภาพ แต่ว่า ราคาหุ้นมันลงมาพอสมควรแต่มันไม่ค่อยเด้ง
เราต้องทำ 2 โจทย์
1) บริษัทที่คุณภาพ
2) แล้วมันราคาไหน

เราต้องตอบข้อแรกให้ได้ก่อน เราจะพอรู้ว่าบริษัทจะสร้างกำไร กับกระแสเงินสดได้ไร แล้วเราก็พอประมาณราคาที่เหมาสมได้

ถ้าคุณจะลงทุนตอนนี้ ให้มองว่าอีก 10 ปี คุณจะเกษียณได้ อย่าเพิ่งไปสนใจเดือนหน้า สามเดือนหน้า มีแต่คนบ้าเท่านั้นที่ปลูกต้นไม้ แล้วหวังว่าจะออกดอก ให้ร่มเงากับเราได้ในวันพรุ่งนี้ เราคิดว่าเราต้องจำกัดความโลภของเรามาก

จริงเดือนที่แล้วที่หุ้น Circuit brake รู้สึกมีความกลัวมาบ้าง แต่ไม่ได้จิตหลุด ไม่ได้ทำอะไรผิดพลาด ไม่ได้ทนไม่ไหว แล้วล้างพอร์ต




คุณฮง-เซียนหุ้นอัจฉริยะ มั่งคั่งหลักพันล้าน

ถ้าเราจะดูธุรกิจสักธุรกิจหนึ่ง เราต้องรู้จักธุรกิจ ลักษณะของธุรกิจนั้นลึกมาก
.
หุ้นที่ทำให้ผมได้ผลตอบแทนเยอะๆ แต่ละตัวเนี่ย จะเป็นหุ้นที่กำไรของธุรกิจนั้นก้าวกระโดด เป็นช่วงเหมือนกับยุคทองของบริษัทนั้นพอดี
.
ซึ่งงานของนักลงทุน คือ ต้องไปเจาะว่าทำไมในอีก 2-3 ปีข้างหน้าถึงธุรกิจนี้ถึงจะเป็นยุคทองของเขา ทำไมกำไรถึงจะเพิ่มขึ้นได้ เป็นเท่าๆตัว ภายในเวลาไม่นาน ผมต้องเข้าไปหาหุ้นลักษณะนี้ให้เจอ
.
วิธีการวิเคราะห์จะเริ่มต้นจาก
.
ต้องวิเคราะห์ก่อนว่าลักษณะรายได้ของเขา ควรจะโตมากกว่าค่าเฉลี่ย เช่น โตมากกว่า GDP
.
สมมติประเทศเราโต 5-6% ในมุมมองของผมรายได้ต้องโต 2 เท่าขึ้นไป 10-15% ขึ้นไป หรือบางครั้ง ผมสามารถหาหุ้นที่รายได้โต 20% ได้ติดกันทุกปี 2-3 ปีข้างหน้า หุ้นแบบนี้ผมจะกำไรค่อนข้างเยอะ
.
ซึ่งวิธีการหาเนี่ย
.
✅ ผมจะดูว่าอะไรที่คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปใช้งาน
.
เช่น สมัยก่อนคนจะใช้โทรศัพท์กัน แต่เดียวนี้จะ Chat กันเยอะ รูปแบบธุรกิจอะไรบ้างที่จะได้ประโยชน์ คนเปลี่ยนพฤติกรรมแบบนี้ไปเยอะๆ รายได้ของธุรกิจได้ประโยชน์เยอะมาก
.
✅ นี้เป็นด่านแรก รายได้ต้องโตมากกว่า GDP ค่อนข้างเยอะๆ
.
✅ แล้วเราก็จะดูต่อไปว่าต้นทุนของเขา ต้องไม่เพิ่มขึ้น
.
❌ มีหุ้นหลายตัวเป็นกับดักนักลงทุน เพราะว่ารายได้โต อะไรๆ ก็ดูดี แต่ว่ามันแข่งขันกันลดราคา
.
❌ อย่างเครื่ิองดื่มบางประเภท ก็แข่งขันกัน โปรโมชั่นกัน จนงบออกมาขาดทุน แม้ว่าคนจะบอกว่าตลาดของเครื่องดื่มชนิดนั้นโต แต่ปรากฎว่าแม้รายได้โต แต่มาจากการทำโปรโมชั่น เราต้องคิดให้ละเอียดว่า เวลาโตแล้วมันจะแข่งกันเยอะรึเปล่า มันต้องสแกนหลายด่าน แต่ด่านแรกรายได้ของธุรกิจนั้นต้องโตเยอะ พอโตเยอะก็ต้องมาดูการแข่งขันต่อ
.
✅ จุดที่สำคัญเวลาผมลงทุนทุกธุรกิจ ผมจะต้องประมาณการกำไรคราวๆนะครับ ของธุรกิจนั้นอย่างน้อย 2-3 ปีข้างหน้าพอออก
.
✅ ถ้าผมประมาณการไม่ได้ผมจะไม่เล่น
.
✅ เวลาผมจะประมาณการรายได้ ผมลองยกตัวอย่าง อย่างเช่นว่า
- ถ้าเขาจะมีรายได้เพิ่ม เขาต้องผลิตสินค้าได้มากขึ้น
- เราต้องรูัว่า ซื้อเครื่องจักรมาเพิ่มเท่าไร
- ที่ซื้อเพิ่มจะผลิตของได้อีกกี่ชิ้น สมมติ ดูหุ้นยานยนต์ หรืออิเล็กทรอนิกส์ จะผลิตของได้อีกกี่ชิ้น
- แล้วเราต้องมาประมาณการว่า เครื่องจักรสมมติซื้อ 1000 ลบ.
- แล้วตัดค่าเสื่อมกี่ปี ถ้าตัด 10 ปี ปีละ 100 ลบ.
- กู้มาอีกเท่าไร สมมติกู้มา 500 ลบ. ใช้ทุนตัวเอง 500 ลบ.
- เงินที่กู้มา 500 ลบ. จ่ายดอกเบี้ยเท่าไร
- มันจะทำให้เราเห็นเลยว่า หลังจากที่บริษัทเนี่ยลงทุน รูปร่างหน้าตาของดอกเบี้ย ค่าเสื่อม รายได้ต่างๆ จะเป็นยังไงใน ปี ถึง 2 ปีข้างหน้า ถ้าเราประมาณการณ์ได้ว่าเติบโตค่อนข้างสูง เราถึงจะลงทุน
.
ก็ต้องมีรายละเอียดแบบนี้ คือเราประมาณการแต่ละรายการหลักๆ ได้หรือเปล่า
.
✅ อัตราส่วนทางการเงิน ผมดูคราวๆ ไม่กี่ตัว อย่างเช่น
- ROE ถ้า ROE สูง 15-20% ถ้าให้ดีเกิน 20% ติดกันแล้ว 2-3 ปียิ่งดี
- ส่วนใหญ่จะดู PE ต่ำหน่อย ส่วนใหญ่ผมแทบจะซื้อหุ้นไม่เกิน PE 15 แต่ PE 15 นี้ผมคิดว่า ❌ผมไม่ได้ใช้กำไรย้อนหลังนะครับ ✅ ผมใช้กำไรที่ผมคาดการณ์
.
ถ้าเราจะเล่นหุ้นแล้วกำไรเยอะๆ แล้วเราไม่อยากพลาดไปติดดอย เราต้องทำประมาณการเรื่ิองพวกนี้ได้ หลักๆ เคล็ดลับที่ผมใช้ แล้วได้กำไรเยอะๆ คือ การทำประมาณการแบบนี้ ภาษาทางการเงินเขาเรียก Financial Projection
.
✅ วิธีการเลือกหุ้น
1) อย่าไปซื้อกบในราคาเจ้าชาย ถ้าจูบแล้วกบ ไม่กลายร่างเป็นเจ้าชาย เหมือนกับการจ่ายเงินเกินไป คือให้ซื้อกบในราคากบ ถ้าเกิดมันไม่กลายเป็น เจ้าชาย เราไม่เสียเปรียบ ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่า PE ต้องต่ำ เพราะว่า PE ต่ำผมไม่จ่ายแพง หุ้นบางตัว PE 50 เท่า แล้วคนบอกว่าจะโตต่อ ถ้าเปิด AEC หุ้นตัวนี้จะดี แต่เรารู้สึกว่า หุ้นตัวนี้เป็นราคาเจ้าชายสุดหล่อ ถ้าเจ้าชายคนนี้ทำอะไรที่ Rating ตกนิดเดียว ความหวังของคนให้ไปล่วงหน้าแล้ว อย่างแรกสุดผมดู PE ก่อน PE ไม่ควรสูง ปกติผมจะซื้อ Forward PE ไม่เกิน 15 เท่า
.
2) กำไรสุทธิ หุ้นที่ผมลงทุน ควรโตอย่าวน้อย 26% เฉลี่ย 3 ปีข้างหน้า
.
26% เนี่ย 3 ปีจะให้กำไร
สมมติปีแรก กำไร 100 ลบ. ถ้าโตปีละ 26% อีก 3 ปีจะกำไร 200 ลบ. ก็คือ 3 ปี จะโตเท่าหนึ่ง
.
ถ้าหาหุ้นที่โตได้ 100% ในปีเดียว มันจะไม่เสถียร คือโตได้ แต่อีกปีจะขาดทุนได้ เพราะธุรกิจมันขายถ่านหิน หรือโรงกลั่น หุ้นหลายตัว ปีนี้กำไร ปีหน้าอาจจะขาดทุน แต่ผมอยากได้กำไรเพิ่มแล้วไม่ตก แล้วเหมือนกับว่ามูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี
.
3) เงินปันผลไม่ควรน้อยกว่า 4% อันนีัคืออย่างน้อย 4-5% ขึ้นไป
.
สมมติลงทุนหุ้น X ราคา 10 บ. ได้ปันผล 5% ถ้าราคายังอยู่ 10 บาท แตากำไรสุทธิเพิ่มไปอย่างที่ผมว่า คือโตปีละ 26% อีกเวลา 3 ปี กำไรเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ผมจะได้เงินปันผลจาก 5% เป็น 10% คือในตลาดแทบไม่มีหุ้นตัวไหนปันผล 10% ถ้าปันผลเยอะขนาดนี้คนต้องไปซื้อ ราคาก็ต้องเพิ่ม
.
หลักๆประมาณนี้
.
ชีวิตประจำวัน
ตื่นมาอ่าน research แล้วดูกราฟ ดูราคาว่า 2-3 ปีที่แล้วเป็นยังไง เราจะใช้ดูเทียบกับกำไร
.
1) ตอนเช้าเปิดเมล์เพื่ิอ save research แล้วปริ้นออกมาอ่าน
2) ดูตัวที่หน้าสนใจ แล้วมาดูกราฟต่อ
.
สมัยก่อนใช้เวลา 7-8 ชม. (ปัจจุบัน 2014) เดียวนี้วันละ ชม. กว่าๆ เรารู้สึกค้นพบตัวเองแล้ว ไม่ได้อ่านเยอะเหมือนเมื่ิอก่อน
.
เมื่ิอก่อนไม่รู้ว่าหุ้นประเภทนี้เป็นยังไง ผมอ่านหมด แต่เดียวนี้ผมรู้เลย กลุ่มนี้ปมไม่เล่น อุตสาหกรรมนี้ไม่เล่น หุ้นผู้บริหารนามสกุลนี้ผมไม่เล่นเลย ผมก็ไม่ต้องอ่าน เพราะผมก็จะรู้ว่าผมสนใจอะไรบ้าง ที่คนเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค ทำให้รายได้มันโต ผมก็อ่านแค่นั้น มันทำให้ผมโฟกัสที่มันตอบโจทย์กับสไตล์การลงทุนของผมเท่านั้นจริงๆ
.
ไม่เหมือนเมื่อก่อน เหมือนเราไม่รู้อะไรอีกเยอะมาก เราต้องอ่าน
- คนนี้ธรรมภิบาลไม่ดีนะ เราก็หลีกเลี่ยงบริษัทแบบนี้
- อุตสาหกรรมเวลาเงินบาทแข็ง กำไรเละทั้งกลุ่ม แล้วเงินบาทค่อยๆ แข็ง ก็ไม่อยากสวนกระแส ว่ามันจะต้องโตมากๆเลยนะ เพื่อจะสวนเงินบาท ให้มันดีอีกต่อหนึ่ง
.
เราก็จะรู้ว่าอะไรที่เราไม่ดู ที่เราดูอ่าไม่เยอะ แต่ได้ประสิทธิภาพ
.
เวลาคุณเพิ่งเข้ามาแล้วเป็นตลาดขาขึ้น คิดว่าตัวเองเป็นเซียน ตลาดแค่ปีเดียว มันไม่ได้สะท้อนว่าคุณเซียนไม่เซียน แต่ถ้าคุณผ่านมา 10 ปี คุณต้องเจอปีที่โหดๆ แน่ๆ ปี 2 ปี ต้องเจอแน่ๆ คนผ่านมา 10 ปี เออ มันไม่เครียดนะ
.
สิ่งที่ทำให้มาถึงวันนี้ได้ น่าจะเป็รทัศนคติ ผมรู้สึกว่าเป็นคนไม่ยอมแพ้ ตอนช่วงแรกๆ ก็ขาดทุน แล้วถามตัวเองว่าไม่เหมาะกับตลาดหุ้นหรือป่าว
.
ความคิดของ Technical มันก็ดีมากนะ ถ้าผิดทางเราก็ออกมา เช่น เราประมาณการณ์กำไรว่าปีนี้ต้องได้ 100 ลบ. แต่ผลออกมาได้ 30 ลบ. เราก็ออกมาก่อน

Credit: https://youtu.be/SbwGh0mA7JU?si=3fghlPoSV-uxSKm-



วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ขั้นตอนการอ่าน 56-1 ของบริษัท

 เป็น Mind map ที่ได้เรียน e-learning ในเว็บ SET โดยพี่มี่ นักลงทุน VI มาสอน การอ่านจะเริ่มจากวงรี 

1. ลักษณะธุรกิจหรือโครงสร้างธุรกิจ ก่อนว่าประกอบกิจการอย่างไร มีสินค้าหรือบริการอะไร

2. ทำการเชื่อมโยงลักษณะธุรกิจกับ ทีมบริหาร ว่ามีโครงสร้างผู้ถือหุ้นอย่างไร เน้นถือในสัดส่วนเยอะๆไว้ก่อน และดูว่าประสบการณ์ และความชำนาญของผู้บริหาร เป็นอย่างไร มีความรู้ความสามารถในการประกอบธุรกิจไหม

3. ดูอุตสาหกรรมว่ามีการเติบโตไหม 

4. ดูงบการเงินและ Link เข้ากับธุรกิจ ดูว่าธุรกิจประกอบกิจการที่ไหนบ้าง ลูกค้าเป็นใคร สินค้าและบริการมีอะไรบ้าง รายได้ที่ได้รับมาเป็นอย่างไร สัดส่วนเท่าไร เติบโตไหม ต้นทุนของการผลิตหรือบริการต่างๆ มีอะไรบ้าง ดูอัตราส่วนทางการเงินอื่นๆ 



การศึกษาธุรกิจของบริษัทผ่านเครื่องมือ Business Model Canvas

ผมจะใช้เครื่องมืออย่าง Business Model Canvas หรือ BMC ช่วยในการเป็นไกด์นำพาเราอ่านเอกสารต่างๆ เอกสาร 65-1 หรือคลิปวีดีโอต่างๆ และจับประเด็นต่างๆ มาใส่ในหัวข้อทั้ง 9 ข้อด้านล่าง จะทำให้เราไม่งง หรือสับสนว่าเราจะอ่านอะไรดี เพราะตัวเอกสารที่ได้จากเว็บ SET มีเอกสารเยอะ ผมจึงทำการใช้ตัว BMC มาช่วยในการตั้งต้นศึกษา อาจจะไม่ได้กรอกเรียงลำดับข้อหัว 1 ถึง 9 แต่เราอ่านแล้วก็พยายามใส่ไปในช่องที่เราเตรียมไว้ ทั้ง 9 ข้อ

1. Value Propositions (คุณค่าที่บริษัทอยากส่งมอบ)

2. Customer Segments (ลูกค้า)

3. Customer Relationships (ความสัมพันธ์กับลูกค้า)

4. Channels (ช่องทางขาย)

5. Key Activities (กิจกรรมหลัก)

6. Key Resources (ทรัพยากรหลัก)

7. Key Partnerships (พันธมิตรหลัก)

8. Revenue Streams (รายได้ของธุรกิจ)

9. Cost Structure (โครงสร้างต้นทุน)


ยกตัวอย่างบริษัท After you หรือตัวย่อ AU

After you เป็นร้านขนมหวานและร้านเครื่องดื่ม  การขายสินค้าและวัตถุดิบ  การขายและการจัดงานนอกสถานที่ แฟรนไชส์ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และมีที่ฮ่องกง และกัมพูชา

1. Value Propositions (คุณค่าที่บริษัทอยากส่งมอบ)

ขายความอร่อย และความสุขระหว่างกินขนมหวานกับเพื่อน ครอบครัว


2. Customer Segments (ลูกค้า)

เด็กนักเรียน คนวัยทํางาน ที่เข้ามาทานกับกลุ่มเพื่อน หรือครอบครัวที่ระดับรายได้ปานกลางถึงสูง


3. Customer Relationships (ความสัมพันธ์กับลูกค้า)

1) การติดแบรนด์ 

2) การเป็นสมาชิก


4. Channels (ช่องทางขาย)

1) ที่ร้าน สาขา

2) 7-Eleven

3) Popup Store

4) แฟรนไชส์

5) OEM (Air Asia, การบินไทย, Starbucks)


5. Key Activities (กิจกรรมหลัก)

1) ขยายร้าน

2) เพิ่มสินค้า

3) เพิ่มช่องทางขาย

4) ปรับ Product mix


6. Key Resources (ทรัพยากรหลัก)

1) โรงครัวกลางรองรับการผลิต ของร้าน

2) ร้านสาขา

3) คุณเมย์ (เจ้าของสูตร)

4) พนักงาน


7. Key Partnerships (พันธมิตรหลัก)

7- Eleven

บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด

แฟรนไชส์

ผู้ขายวัตถุดิบ


8. Revenue Streams (รายได้ของธุรกิจ)

1) ร้านขนมหวานและร้านเครื่องดื่ม  86.5%

2) การขายสินค้าและวัตถุดิบ 6.8%

3) การขายและการจัดงานนอกสถานที่ 4.1%

4) แฟรนไชส์ 1.5%


9. Cost Structure (โครงสร้างต้นทุน)

1) ต้นทุนขาย ต่อยอดขาย 34.8% 

2) ค่าใช้จ่ายในการขายและจัดจำหน่าย ต่อยอดขาย 30.3%

3) ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ต่อยอดขาย 16.5%


การศึกษาแนวทางการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

จะเล่าตอนที่เริ่มจะรู้สึกว่าตัวเองเดินมาถูกทาง (และตอนที่เขียนก็ยังไม่มีอิสระภาพทางการเงิน)

1. ไปฟังคลิปของคุณไม้ฟืน นักลงทุน VI ที่เล่าประวัติชีวิตตัวเอง และได้แนะนำเว็บของคุณโย Yoyoway และคุณไม้ฟืนบอกว่าเว็บของคุณโยเป็นอาจารย์และแนวทางการศึกษาที่ดี จึงปริ้นออกมาอ่าน และเริ่มศึกษาแนวทางการลงทุนแบบเน้นคุณค่า อ่านหนังสือตามที่คุณโยแนะนำ

2. การไปลงคอร์สของ Pocket Investor ซึ่งคุณกานต์เป็นผู้สอน ก็ได้ลำดับการศึกษา คุณกานต์บอกว่าให้ศึกษาธุรกิจก่อนไปดูงบ  และหนังสือที่คุณกานต์แนะนำ

3. อ่านหนังสือตามที่คุณโย และุคุณกานต์แนะนำ

4. ทำการสมัครเว็บไซต์ Thai VI  ทดลองอ่านหุ้นที่นักลงทุนส่วนใหญ่ชอบโพส และจากนั้นทำการเข้าไปติดตามไอดอลการลงทุน มีหลายท่าน  (ชื่อ Login) เช่น 
    - คนขายของ (คุณชาย มโนภาส) 
    - hongvalue (คุณฮง)
    - Mario (คุณกานต์ ณัฐชาติ
    - สามัญชน (หมอสามัญชน)
    - ลูกอีสาน (คุณโจ) 
    - Invisible Hand (คุณคเชนทร์)

5. ลงเรียนการวิเคราะห์งบการเงิน จากเว็บ SET 

การหาบริษัทที่จะซื้อลงทุนที่พอจะตกผลึกได้ ณ ตอนนี้

การหาบริษัทที่จะซื้อลงทุนที่พอจะตกผลึกได้ ณ ตอนนี้

1. เจอบริษัทที่เราคิดว่าเข้าใจ และชอบ เป็นบริษัทไม่เบียดเบียนสังคม ก็เริ่มจาก อ่านข้อมูลสาระสนเทศของบริษัท และดูงบการเงินคราวๆ

2. วิเคราะห์อุตสาหกรรมด้วย 5 force model

3. ศึกษาธุรกิจก่อน ด้วยเครื่องมือ BMC หรือ Business Model Canvas

4. ตั้งคำถามว่า สินค้า หรือบริการ จะโดน Disrupt หรือไม่

5. วิเคราะห์ในฐานะลูกค้า ผู้ใช้งานว่าบริษัทมีความสามารถในการแข่งขันแบบยั่งยืน หรือไม่ ด้วยเครื่องมือของ MOAT หรือ DCA หรือ 7 Power โดยทำตัวเป็นลูกค้าของสินค้าหรือบริการนั้นๆ

6. ศึกษากลยุทธ์การเติบโตของบริษัท ด้วยเครื่องมือของ Ansoff Matrix จะได้มองถึงการเติบโต เทียบกับความเสี่ยง

7. วิเคราะห์งบการเงิน ใช้เทคนิคของ

งบดุล และ งบกำไร (ขาดทุน)
- การวิเคราะห์แนวตั้งซึ่งหลายคนเรียก Common size Analysis

-  การวิเคราะห์แนวโน้ม เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลในงบการเงินตั้งแต่ 2 ปี หรือมาโดยแสดงผลต่างในรูปของจำนวนเงินและร้อยยละ (%)  ที่เพิ่มขึ้นหรือลดเมื่อเทียบกับปีฐาน

งบกระแสเงินสด & งบกำไร (ขาดทุน)
- ทำการพิจารณาตัว Non cash , กำไร (ขาดทุน) พิเศษ และบวกกลับ หรือหักกับกำไรสุทธิ เพื่อนำไปพิจารณาหามูลค่าของบริษัท

8. ประเมินว่าบริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทประเภทไหน ตามทฤษฎีของ ปีเตอร์ ลินซ์ เพื่อใช้เป็นแนวทางการประเมินมูลค่า

9. ประเมินมูลค่าของบริษัท และต้องมี Margin of safety ตามประเภทของบริษัท บางบริษัท บางประเภทของหุ้นจะให้ Margin of safety แตกต่างกัน

9.1 กำหนดกลยุทธ์การลงทุน

9.2 รอคอยให้เป็น ตามการประเมินมูลค่าตามความคาดหวังผลตอบแทนที่เราจะได้

9.3 จังหวะไม่มั่นใจ คือจังหวะซื้อ

10. ควบคุมจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก นึกคิด และตรวจสอบข้อ 2-10 ทุกๆ ไตรมาส แต่สำหรับข้อ 4 นั้นหากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยน ต้องพิจารณาการถือหุ้นด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะกำไร หรือขาดทุน
.

หากมีข้อเสนอแนะหรือติ ผ่าน e-mail สามารถกรอกด้านล่างครับ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *